วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกี่ยวกับ

ภาษา
ภาษาม้งจัดอยู่ในสาขาเมี้ยว-เย้าจองตระกูลจีน-ธิเบตไม่มีภาษาเขียนแต่ยืมตัวอักษรภาษาโรมัน มาใช้ ม้งไม่มีภาษาที่แน่นนอน ส่วนใหญ่มักจะรับภาษาอื่นมาใช้พูดกัน เช่น ภาษาจีนยูนนาน ภาษาลาว ภาษาไทยภาคเหนือ เป็นต้น ซึ่งม้งทั้ง 3 เผ่าพูดภาษาคล้ายๆ กัน คือ มีรากศัพท์ และไวยากรณ์ที่เหมือนกัน แต่การออกเสียงหรือสำเนียงจะแตกต่างกันเล็กน้อย ม้งสามารถใช้ภาษาเผ่าของตนเอง พูดคุยกับม้งเผ่าอื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ม้งไม่มีภาษาเขียนหรือตัวหนังสือ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันชาวม้งได้เขียน และอ่านหนังสือภาษาม้ง โดยการใช้ตัวอักขระหนังสือละติน (Hmong RPA) เรื่องราวความเป็นมาต่างๆ ของม้ง จึงอาศัยวิธีการจำและเล่าสืบต่อกันมาเพียงเท่านั้น
ในประเทศไทยม้งจะเเบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั้ว พบในประเทศไทย 33,000 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ เชียงราย เเม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ พะเยา เลย สุโททัย เเพร่ กำเเพงเพชร เเพร่
2. ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด้อ พบในประเทศไทย 32,395 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ เชียงราย เเม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ พะเยา เลย สุโททัย เเพร่ กำเเพงเพชร ลำปาง อุตรติดถ์ เเพร่
เเละยังพบคนม้งที่ใช้ทั้งสองภาษานี้ในประเทศจีน ลาว เวียดนาม พม่า ฝรั่งเศษ เเละสหรัฐอเมริกาด้วย
ไวยากรย์
การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม เช่น เด๋เตาะหมี (หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับภาษาไทย 

https://goo.gl/cqgCO6
ภาษาม้งมีการใช้คำลักษณนามโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่แหน่ง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณนามที่สำคัญคือ ตู่ใช้กับสิ่งมีชีวิตทั้ง สัตว์และต้นไม้ ส่วนคนนั้นใช้ เล่ง เช่น อ๊อเล่ง (คนสองคน) ตร๊า ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ ได่ ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ แส้ฮ ใช้กับสิ่งที่เป็นเส้นยาวหรือเวลานานๆ ลู้ใช้กับคำนามทั่วไป จ๋อใช้กับคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น จ๋อแหน่ง (ม้าหลายตัว)
ระบบการเขียน
ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง มีผู้สนใจภาษาม้งได้ประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้  เช่น อักษรม้ง  อักษรพอลลาร์ด เมียว เเต่ที่นิยมเเพร่หลายคือ อักษรละติน  ในประเทศไทยบางครั้งเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการเขียนด้วยอักษรละตินมี พยัญชนะที่ใช้ทั้งหมด 57 ตัว วรรณยุกต์ มี 8 และสระมี 14 ตัว ได้แก่
พยัญชนะ
https://goo.gl/cqgCO6
ในภาษาม้งมีทั้งหมด 57 ตัวแยกเป็น พยัญชนะตัวเดียว พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว และพยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว ดังต่อไปนี้คือ
พยัญชนะตัวเดียว มีทั้งหมด 18 ตัว t k p s x l n h m g q v r z y c f d
เทียบกับอักษรไทย ต ก ป ซ ซ ล น ฮ ม _ ก ว จ ย ย จ ฟ ด
พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว มีทั้งหมด 22 ตัว kh qh ch ts ny hn th nt np ph tx xy hl nk nr dh rh nc pl hmเหมือนhn ml nl
เทียบกับอักษรไทย ค ค ช จ ญ หน ท ด บ พ จ ซ หล ก จ ธ ช จ ปล หม หน มล นล
พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว มีทั้งหมด 14 ตัว tsh nth txh nts nph nrh hmlหรือhnl nkh nqh nch ntx npl plh hny
เทียบกับอักษรไทย ช ด ช จ จ ภ ฌ หมล หนล ฆ ฆ ฌ จ บล พล หญ
พยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว มีทั้งหมด 3 ตัว ntsh ntxh nplh
เทียบกับอักษรไทย ฌ ฌ ภล

https://goo.gl/cqgCO6
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ของม้งมีทั้งหมด 7 รูป 8 เสียงดังต่อไปนี้คือ
สั๊วบัว(suab npua) เสียงสามัญไม่มีพยัญชนะกำกับ เช่น qhia tsua ya zoo qee ntshua xyoo
สั๊วนือ (suab nws) ใช้ตัว s เช่น ntuas tsoos nplias moos ntses qhuas
สั๊วก้อ (suab koj) ใช้ตัว j เช่น yeej tshaj khauj noj nroj yaj phuaj phwj
สั๊วเป๊ (suab peb) ใช้ตัว b เช่น neb coob qaub iab suab wb nyab cob
สั๊วกู๋ (suab kuv) ใช้ตัว v เช่น qhiav ntxoov qhauv ntsev ntuav xav
สั๊วป่อ (suab pom) ใช้ตัว m เช่น niam nyiam yuam twm nyem cuam kam
สั๊วยอห์ (suab yog) ใช้ตัว g เช่น tog loog taug neeg lwg nag tseg yiag
สั๊วเต๋อ (suab ntawd) ใช้ตัว d ใช้ในกรณีของการบอกทิศทางเท่านั้นเช่น ntawd tod saud haud nrad ped tid
สระ
ได้แก่ สระอา (a) สระอี (i) สระ เอ (e) สระอื (w) สระอู (u) สระออ (o) สระโอง (oo) สระอาง (aa) สระเอง (ee) สระเออ (aw) สระเอีย (ia) สระเอา (au) สระอัว ( ua) สระ ไอ (ai)

https://www.youtube.com/watch?v=PY8slVvYbBY

https://www.youtube.com/watch?v=0ckMy-o1Z-g

https://www.youtube.com/watch?v=VYH_jhNQvEU




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น